แชร์ :

ผู้เชี่ยวชาญเตือน นอนเน่าบนเตียงทั้งวัน เสี่ยงซึมเศร้า เผยสาเหตุอันตรายคาดไม่ถึง

ผู้เชี่ยวชาญเตือน นอนเน่าบนเตียงทั้งวัน เสี่ยงซึมเศร้า เผยสาเหตุอันตรายคาดไม่ถึง

ภัยใกล้ตัว! หมอหมูเปิดผลการวิจัย นอนเน่าบนเตียงทั้งวัน แม้มีความสุข แต่เสี่ยงซึมเศร้า เผยสาเหตุอันตรายคาดไม่ถึง – แนะวิธีป้องกัน

กลายเป็นประเด็นในหลายคนสนใจ หลัง “รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี” แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวช มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ออกมาแชร์ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยใหม่ ถึงการนอนเน่าบนเตียงทั้งวัน

โดยระบุว่า นอนเน่าบนเตียงทั้งวัน (Bed Rotting) เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง อ้วน ซึมเศร้า

ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับเตือน ผู้คนไม่ให้ทำตามกระแสในโซเชียลมีเดียที่เรียกว่า “นอนเน่าบนเตียงทั้งวัน (Bed Rotting)” เนื่องจากอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และภาวะซึมเศร้า เพิ่มขึ้น

กระแสไวรัลดังกล่าวทำให้ผู้คนนอนอยู่บนเตียงทั้งวันหรือแม้แต่วันหยุดสุดสัปดาห์โดยไม่ทำอะไรเลย

กระแสดังกล่าวอ้างว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพกายและใจ โดยช่วยให้ผู้คนได้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

หากมองเผินๆ แนวคิดที่จะนอนอยู่บนเตียง และไม่ทำอะไรเลยตลอดทั้งวันอาจดูเหมือนเป็นความฝันที่เป็นจริงสำหรับคนที่มีตารางงานที่ยุ่งวุ่นวาย อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมได้ โดย

1. การนอนราบอาจทำให้ความดันโลหิตสูงในบุคคลบางคน ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่า ความดันโลหิตสูงขณะนอนราบ (supine hypertension) ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อระบบประสาทอัตโนมัติทำงานไม่ถูกต้อง

2. การนอนบนเตียงนานเกินไปและหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายเป็นประจำ อาจนำไปสู่ภาวะโรคอ้วน และทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองได้

3. การนอนบนเตียงทั้งวัน ในห้องที่มืด จะทำให้เราไม่ได้รับแสงแดดตามธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้เกิด

3.1 ความรู้สึกซึมเศร้าและวิตกกังวล

3.2 ปัญหาการนอนไม่หลับ เนื่องจากการได้รับแสงแดดทำให้ผิวหนังผลิตเมลานิน ซึ่งจะถูกนำไปใช้สร้างเมลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการนอนหลับ “การขาดเมลาโทนินสามารถรบกวนจังหวะการทำงานของร่างกายและรูปแบบการนอนหลับ ส่งผลให้วงจรการนอน – ตื่นไม่ปกติ”

คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ: ไม่ควรนอนเน่าบนเตียงทั้งวัน พยายามเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดียวกันทุกวัน และอย่านอนดึกในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เพราะอาจทำให้พฤติกรรมดังกล่าวไม่เป็นไปตามปกติ

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทั้งหมดที่หมอหมูนำเสนอมีการอ้างอิงแหล่งที่มาชัดเจน และได้พยายามอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ แต่บางครั้งอาจมีการโต้แย้งในข้อมูล ซึ่งเป็นเรื่องปกติในแวดวงวิชาการ 

ดังนั้น จึงขอเรียนทุกท่านว่า โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านบทความของหมอหมู และควรหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความถูกต้องอีกครั้ง

Tag :
Scroll to Top