อุทาหรณ์! ชายไต้หวันวัย 20 ปี ท้องอืด-บวมไม่ทราบสาเหตุ นาน 2 ปี แพทย์ชี้เป็นโรคโครห์น มีตุ่มเต็มลำไส้ เผยพบบ่อยในเพศชาย
นพ. เย่ ปิงเว่ย แพทย์ด้านตับและทางเดินอาหารโพสต์บนเพสบุ๊ก 胃腸專家 葉秉威醫師 เผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพเป็นอุทาหรณ์ให้สาธารณชน โดยเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนเขาได้พบกับชายคนหนึ่งในวัย 20 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ต่างประเทศมาหลายปีแล้ว ต่อมาคนไข้ชายได้รับการตรวจสุขภาพพบค่าดัชนีมวลกายของเขาแค่ 15 เท่านั้น พร้อมทั้งมีรูปร่างผอมเพรียว
คนไข้เผยว่า ตนท้องอืดมาเป็นเวลาสองปีแล้ว ซึ่งแพทย์สงสัยและกังวลและรู้ว่าท้องของผู้ป่วยมักจะท้องบวมในช่วงสองปีที่ผ่านมา และทานอาหารได้ไม่ดี ส่วนประวัติทางการแพทย์ที่ผ่านมาเขาบอกเพียงว่าเขาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากการติดเชื้อในลำไส้ ดังนั้น จึงให้คนไข้ชายเข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ คำตอบของปริศนาก็ชัดเจนขึ้นในทันใด
胃腸專家 葉秉威醫師
แพทย์พบลำไส้ใหญ่ของผู้ป่วยมีอาการหลายอย่าง เช่น ก้อนตุ่ม ลิ้นหัวใจตีบ แผลในลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ และมีสัญญาณของการผ่าตัดบริเวณรอบ ๆ ทวารหนัก ซึ่งแพทย์เผยว่า อาการดังกล่าวคล้ายกับโรคโครห์น ส่วนรอยผ่าตัดบริเวณทวารหนักนั้นอาจจะเป็นการรักษากระดูกบริเวณทวารหนักในอดีต หลังจากตัดชิ้นพยาธิวิทยาแล้ว นักพยาธิวิทยาก็วินิจฉัยอาการคนไข้เช่นเดียวกัน
นพ. เย่ ปิงเว่ย อธิบายว่า “โรคโครห์น” เป็นโรคที่เกิดการอักเสบเรื้อรังของระบบทางเดินอาหารหรือลำไส้ โดยมักจะเกิดขึ้นที่ลำไส้ส่วนปลายหรือลำไส้ใหญ่ มีลักษณะคล้ายกับโรคแพ้ภูมิตนเอง อาการจะแตกต่างกันไป บางครั้งทำให้เกิดฝีในช่องท้อง, ปวดท้อง, ลำไส้ตีบ ท่อลำไส้และทวารหนักอักเสบ หรือน้ำหนักตัวลดลง เป็นต้น อัตราการเกิดอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 10,000 และจะพบบ่อยในเพศชาย
胃腸專家 葉秉威醫師
นพ. เย่ ปิงเว่ยอธิบายเพิ่มเติมว่า การวินิจฉัยโดยทั่วไปต้องใช้การส่องกล้อง พยาธิวิทยา ภาพถ่ายเอกซเรย์ และอาการทางคลินิกร่วมกัน ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการและใช้เวลา 1 หรือ 2 ปี โรคถึงจะถูกค้นพบและวินิจฉัย
ตามรายงานเพิ่มเติม สาเหตุของโรคโครห์นเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่
ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย (การตอบสนองที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย)
กรรมพันธุ์ (เพิ่มโอกาสให้เกิดโรคได้ 20%)
การติดเชื้อในอดีต
การสูบบุหรี่
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม