ผู้เชี่ยวชาญเผย อาหาร 2 ชนิดที่ไม่มีวันกิน เหตุอันตราย มีแบคทีเรียสะสมเยอะ ที่ไทยก็หากินง่าย
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขอนามัยอาหารจากสหรัฐอเมริกา ผู้ใช้โซเชียลมีเดียที่ใช้ชื่อว่า @hydroxide ได้ออกมาเผยแพร่ความรู้ผ่านทางติ๊กต็อก โดยเตือนประชาชนให้ระวังผักชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอาหารหลักที่นิยมรับประทานในร้านอาหารเพื่อสุขภาพ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาหารเป็นพิษอย่างน่าตกใจ
ตามรายงาน ต้นอ่อนดิบหรือถั่วงอกดิบ แม้เป็นผักใบเขียวที่ใช้ใส่ในสลัด, ซุป, แซนด์วิช หรือก๋วยเตี๋ยวที่อาจอุดมไปด้วยวิตามินซีและแมกนีเซียม แต่ยังเป็นอาหารที่มีความเสี่ยงสูงมากและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แบคทีเรียอันตรายด้วยเช่นกัน ซึ่งเธอเผยว่า ถั่วงอกเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่เธอจะหลีกเลี่ยงตลอดไป
นักวิทยาศาสตร์การอาหารกล่าวว่า แบคทีเรียก็เหมือนกับเพื่อนซี้ของคุณในช่วงปิดเทอมฤดูใบไม้ผลิ พวกมันอยากไปที่ที่ร้อนและชื้น และมันก็กระหายน้ำ ดังนั้นโดยทั่วไปแล้วถั่วงอกจะปลูกในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น ชื้น และเปียกที่สุดเท่าที่คุณจะจินตนาการได้ และลองเดาดูว่าแบคทีเรียชนิดใดชอบสภาพแวดล้อมแบบนี้’
เท่านั้นไม่พอเธอยังได้เตือนว่า “ผักขนาดเล็กสามารถแพร่กระจายแบคทีเรียได้ทั่วห้องครัวของคุณ คุณต้องคิดด้วยว่าเมื่อคุณต้องจัดการกับอาหารที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งมีความชื้นสูง อาหารเหล่านั้นอาจเปื้อนไปยังอุปกรณ์ในครัวของคุณ รวมไปถึงเคาน์เตอร์ อ่างล้างจาน และสิ่งอื่น ๆ อีกมากมาย”
เธอกล่าวเสริมว่า หากคุณไม่ลวกหรือปรุงจนสุกก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาหารเป็นพิษได้ การศึกษาหนึ่งรายงานว่า จำนวนจุลินทรีย์บนเมล็ดพืชที่กำลังงอกสามารถเพิ่มขึ้นถึง 1 พันล้านตัวภายในสามวันหลังจากกระบวนการงอก ตามรายงานจากมหาวิทยาลัยในนอร์ธแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา
ต้นอ่อนดิบหรือถั่วงอกดิบอาจปนเปื้อนแบคทีเรียที่เป็นอันตราย เช่น อีโคไล ลิสทีเรีย และซัลโมเนลลา ซึ่งอาจทำให้เกิดอาหารเป็นพิษได้ ไม่ว่าจะเป็นอาการท้องเสีย อาเจียน คลื่นไส้ ปวดท้อง และมีไข้สูง ล้วนเป็นอาการของอาหารเป็นพิษ นอกจากนี้ยังอาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัวโดยทั่วไป รู้สึกเหนื่อยล้า และมีอาการปวดเมื่อยและหนาวสั่น ตามข้อมูลของ NHS
โดยอาการของโรคอาหารเป็นพิษมักเริ่มขึ้นภายในไม่กี่วันหรือชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ แต่ในบางกรณี อาจต้องใช้เวลานานถึงหนึ่งสัปดาห์จึงจะมีอาการปรากฏให้เห็น
ระหว่างปี 2556 ถึง 2566 การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคซัลโมเนลลา ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียร้ายแรงที่อาจถึงแก่ชีวิตและมักพบในเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 79 ในขณะเดียวกัน อีโคไลและแคมไพโลแบคเตอร์ก็เพิ่มจำนวนขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2566 โดยมีอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสำหรับอีโคไลเพิ่มขึ้นเป็น 9 ใน 100,000 คนในปี 2566 เพิ่มขึ้นจาก 3 ใน 100,000 คนในปี 2543
นอกจากนี้ เธอยังได้โพสต์คลิปภาค 2 เกี่ยวกับอาหารที่ฉันหลีกเลี่ยงในฐานะนักวิทยาศาสตร์การอาหาร คือ หอยนางรมดิบ โดยบอกว่าหอยนางรมอันตรายเกินกว่าจะกิน เพราะไม่มีใครทราบแหล่งจับหอยนางรมที่แน่นอนและไม่ทราบการตรวจสอบแหล่งน้ำที่แน่ชัด